ขอแสดงความยินกับนักศึกษาสาขาศิลปะภาพถ่าย ได้รับรางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทาน "เพียงพอก็พอเพียง"

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยตัดสินภาพถ่ายชนะเลิศ ในโครงการภาพถ่ายแห่งแผ่นดิน ประจำปี 2554-2555 โดยภาพถ่ายได้รับรางวัลชนะเลิศได้แก่ภาพถ่ายที่ใช้ชื่อว่า "เพียงพอก็พอเพียง"
          ภาพถ่าย เพียงพอก็พอเพียง นี้ เป็นภาพของนายคันธ์ชิต สิทธิผล ผู้ชนะเลิศถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ซึ่งเป็น 1 ใน 12 ภาพ ที่เข้ารอบสุดท้าย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมวินิจฉัยคัดเลือกตัดสินผลงานรางวัลชนะเลิศด้วยพระองค์เอง จากโครงการภาพถ่ายแห่งแผ่นดิน ประจำปี 2554-2555 ภายใต้แนวคิด เพื่อประโยชน์สุข โดยจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 25 โครงการดังกล่าวเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สนใจการถ่ายภาพทั่วประเทศ ส่งรูปภาพร่วมประกวด เพื่อชิง 6 ถ้วย พระราชทาน เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 7 รอบพระนักษัตร ซึ่งมีผู้สนใจส่งภาพถ่ายเข้าร่วมประกวดในโครงการเป็นจำนวน 1,169 ภาพ จากช่างภาพ 307 คน 
          นายวิเชษฐ ตันติวานิช ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) คณะผู้จัดโครงการ กล่าวถึงโครงการนี้ว่า การจัดประกวดโครงการภาพถ่ายแห่งแผ่นดิน ครั้งนี้ นอกจากจะเปิดโอกาสให้นักถ่ายภาพได้แสดงพรสวรรค์แล้ว ยังถือเป็นการร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ถือเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการอันทรงเกียรตินี้  
          โดยผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ซึ่งเป็นบัณฑิตจบใหม่จากมหาวิทยาลัยรังสิต บอกถึงความรู้สึกว่า รางวัลนี้ถือเป็นเกียรติยศสูงสุดของวงศ์ตระกูล และรู้สึกดีใจมาก ไม่คาดฝัน ว่าจะได้รับพระบรมราชวินิจฉัยตัดสินจากในหลวงให้ได้รับรางวัลชนะเลิศนี้ 
           นอกจากภาพถ่ายที่ได้รับรางวัลถ้วยพระราชทานจำนวน 6 ภาพ แล้ว ยังมีภาพร่วมจัดแสดงกว่า 200 ภาพ ในงานนิทรรศการอีกด้วย ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2555 เวลา 10.00-20.30 น. ณ แฟชั่นฮอลล์ ชั้น 1 ศูนย์การค้าสยามพารากอน

http://news.voicetv.co.th/thailand/43908.html
...............................................................................................................................

ปรัชญาและปณิธาน
               ปีพุทธศักราช 2530 ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ได้เล็งเห็นความสำคัญและคุณค่าของงานศิลปะ จึงมีความประสงค์
จะจัดตั้งคณะศิลปกรรมขึ้น ในมหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อรองรับนักศึกษาที่มีความสนใจในการเรียนศิลปะและเพื่อสนับ
สนุนส่งเสริมการศึกษา ของชาติ อีกแนวทางหนึ่งนอกเหนือจากสถาบันต่าง ๆ ของรัฐที่มีอยู่แล้ว จึงมอบหมายให้
อาจารย์บัณจบ พลาวงศ์ จัดทำหลักสูตรคณะศิลปกรรมขึ้น ในมหาวิทยาลัยรังสิต อาจารย์บัณจบ จึงได้ติดต่อเชิญ
คณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ จากสถาบันต่าง ๆคือ คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ,
ภาควิชาศิลปศึกษา คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจาก สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเพาะช่าง
 เข้าร่วมประชุมพิจารณาหลักสูตร
            ทบวงมหาวิทยาลัยพิจารณาอนุมัติให้เปิดการเรียนการสอนได้ตังแต่ปีการศึกษา 2530 เป็นต้นมา ต่อมา
มหาวิทยาลัยรังสิตได้แต่งตั้งให้ อาจารย์บัณจบ พลาวงศ์ ดำรงตำแหน่งคณบดีกิติคุณ อาจารย์อำนวยวุฒิ สาระศาลิน
ดำรงตำแหน่งเป็น คณบดี จนถึงปัจจุบันปีการศึกษา 2550 มหาวิทยาลัยรังสิตได้เปลี่ยนชื่อคณะศิลปกรรม (เดิม) 
เป็น คณะศิลปะและการออกแบบ เพื่อให้สอดคล้องกับสาขาวิชาที่มีการเรียนการสอนในปัจจุบัน ซึ่งได้มีการปรับปรุง
หลักสูตรและเปิดสาขาใหม่ๆขึ้นเพื่อให้มีความทันสมัย ในองค์ความรู้ใหม่ที่เพิ่มขึ้น
ปัจจุบันคณะศิลปะและการออกแบบ เปิดการเรียนการสอนทั้งหมด 6 สาขาวิชาในระดับปริญญาตรี คือ
1.ศิลปภาพถ่าย (Bachelor of Fine Arts Program in Photography)
2.ออกแบบภายใน(Bachelor of Fine Arts Program in Interior Design)
3.ออกแบบนิเทศศิลป์(Bachelor of Fine Arts Program in Visual Communication Design)
4.ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (Bachelor of Fine Arts Program in Industrial Design)
5.แฟชั่นดีไซน์ (Bachelor of Fine Arts Program in Fashion Design)
เปิดหลักสูตร พ.ศ.2544 เป็นแห่งแรกของไทยที่เน้นการเรียนการสอนด้านการออกแบบแฟชั่นและธุรกิจแฟชั่น
หลักสูตรระดับปริญญาโท มี 2 หลักสูตรคือ
1. สาขาวิชาการออกแบบ (Master of Fine Arts Program in Design)

....................................................................................................................................................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น